ศูนย์วิจัยเกษตรหม่อมเจ้าสิทธิพรกฤดากร ศูนย์วิจัยเกษตรหม่อมเจ้าสิทธิพรกฤดากร ตามรอยบาทปราชญ์เกษตร มจ. สิทธิพร กฤษดากร เจ้าของอมตวาจา "เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง" เจ้านายผู้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการเกษตรซึ่งเป็นแหล่งปากท้องและแหล่งสร้างอาหารที่สำคัญของโลก ทรงละทิ้งตำแหน่งหน้าที่ตลอดจนความสะดวกสบายในวังเพื่อมาทรงบุกเบิกงานด้านเกษตรกรรม เพื่อทรงวางพื้นฐานและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรแก่ลูกหลานชาวไทย
อนุสาวรีย์ มจ สิทธิพร กฤษดากร จากหนังสือคำปราศรัยจากฟาร์มบางเบิด มจ สิทธิพร ทรงเล่าว่า "เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2463 บังเอิญข้าราชการกรมใหญ่กรมหนึ่งสมัครใจโดยลำพังที่จะสละตำแหน่งสูงโดยกราบบังคมทูลลาออกจากราชการ เพื่อจะได้ไปประกอบการกสิกรรมตามแบบสมัยใหม่ ซึ่งในสมัยนั้นผู้คนโดยมากเห็นว่าเป็นการกระทำของคนที่ไม่บ้าก็บอ นั่นคือข้าพเจ้าเอง ทั้งนี้ เพราะข้าพเจ้าบังเอิญได้ภรรยาที่เป็นเจ้าของที่ดินชายทะเลแห่งหนึ่งเป็นที่ถูกใจเป็นอย่างยิ่ง และบังเอิญภรรยาก็เห็นพ้องด้วย ซึ่งเป็นที่แปลกใจของเพื่อนฝูงไม่น้อย เพราะการทิ้งกรุงเทพฯแดนสวรรค์ หอบลูกเล็กๆ สองคนไปอยู่ที่ๆ ห่างไกลหมอดูเสมือนเป็นการกระทำที่ไม่บ้าก็บอ" จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า "ฟาร์มบางเบิด" เป็นฟาร์มแห่งแรกในประเทศไทยที่ปลูกพืชคลุมดิน ด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนในที่ดินแห่งเดียว ต่างกับการปลูกพืชที่ดอนในยุคนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะปลูกไร่เลื่อนลอยหรือทำนา แตงโมบางเบิด ของขึ้นชื่อในอดีตของฟาร์มบางเบิด ที่ฟาร์มบางเบิด นอกจากจะปลูกแตงโมพันธุ์ต่างประเทศ ที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีแตงไทย ข้าวโพด ถั่วลิสง เลี้ยงไก่เล็กฮอร์นขาวพันธุ์แท้ เลี้ยงหมูพันธุ์ยอร์กเชีย นอกจากนั้น ยังเป็นฟาร์มแห่งแรกที่ทดลองผลิตยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนียที่บ่มด้วยความร้อนเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ดั้งเดิมเป็นดินปนทรายไม่เหมาะสมกับการทำไร่นาสวนผสม เพราะเหตุนี้จึงไม่มีชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ แต่ในที่สุดบางเบิดก็กลายเป็นพื้นที่ได้รับการพัฒนาทางวิชาการเกษตรอย่างดีเลิศ กระทั่งหม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับรางวัลจากมูลนิธิรามอนแม็กไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์ ถวายรางวัลแม็กไซไซ ด้านบริการสาธารณะ สาขาพัฒนาการเกษตรแผนใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นการยกย่องพระเกียรติคุณ "ในระหว่างการติเตียนการลาออกของข้าพเจ้า ได้มีเจ้านายบางพระองค์ที่ชมเชยว่าเป็นการก้าวหน้าโดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปก ซึ่งทรงคุ้นเคยกับพวกข้าพเจ้า เพราะบังเอิญพี่ชายของข้าพเจ้าสองคนได้เคยเป็นพระอภิบาลเมื่อเสด็จไปศึกษาในประเทศอังกฤษ ทั้งภรรยาของข้าพเจ้าก็บังเอิญเป็นข้าหลวงเดิมคนหนึ่งด้วย ฉะนั้นต่อมาอีก 3 ปี เมื่อบังเอิญเสวยราชสมบัติเป็นพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแวะดูกิจการที่ฟาร์มบางเบิดในระหว่างการประพาสทางทะเล มีความสนพระราชหฤทัยในกิจการที่ได้กระทำอยู่ด้วยเครื่องมือทุ่นแรงต่างๆ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตร" การที่ทรงมาดำเนินงานจัดทำฟาร์มที่ตำบลบางเบิด ซึ่งห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 350 กิโลเมตรนั้น พระองค์ทรงต้องการพิสูจน์ว่า การจัดการฟาร์มตามหลักวิทยาศาสตร์เท่านั้นจึงจะสามารถทำให้ฟาร์มประสบผลสำเร็จ ทั้งความรู้เรื่องการปรับพื้นที่เป็นขั้นบันได การใช้ปุ๋ยพืชสด ในสวนผักของหม่อมเจ้าสิทธิพรนั้น มีการปลูกมะเขือเทศ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และชายาของพระองค์เองเป็นผู้จดบันทึกและทำบัญชีกิจการ นอกจากนี้ พื้นที่ฟาร์มแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ใช้รถแทรกเตอร์เป็นเครื่องแรกของประเทศไทยด้วย จนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯเยือนบ้านบางเบิดเมื่อปี พ.ศ. 2469 รถบรรทุกของสถานีวิจัย ในที่สุด การดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายของหม่อมเจ้าสิทธิพรที่ฟาร์มบางเบิดก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องกลับเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2475 ในตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจกสิกรรม และขณะนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง จนกระทั่งหม่อมเจ้าสิทธิพรได้ต้องโทษจำขังที่บางขวาง เกาะเต่า และเกาะตะรุเตา กรณีกบฏวรเดช ถึงปี พ.ศ.2487 เมื่อพระชันษา 61 ปี จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษ และเสด็จกลับบางเบิดเพื่อทดลองทำการเกษตรอีกครั้ง ทรงได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเกษตราธิการ ในรัฐบาลที่มีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตำหนักจำลอง ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2502 ฟาร์มบางเบิดที่หม่อมเจ้าสิทธิพรได้ทรงวางรากฐานทางการเกษตรแผนใหม่มานานมากกว่าครึ่งศตวรรษ ก็ได้ขายฟาร์มบางเบิดให้กับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จากนั้นหม่อมเจ้าสิทธิพรและพระชายาก็ได้ย้ายไปสร้างไร่ขนาดเล็กที่บ้านเขาน้อย อำเภอหัวหิน และได้สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2514 รวมพระชันษา 88 ปี ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบันฟาร์มบางเบิดที่เคยรุ่งเรืองได้กลายเป็นสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร หน่วยงานในสังกัดสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตวิกฤต โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบ ได้วางแผนริเริ่มดำเนินการบนพื้นที่เดิมซึ่งเป็นฟาร์มบางเบิด บนเนื้อที่ 385 ไร่ 3 งาน 74 ตารางวา โดยความร่วมมือของทุกฝ่าย มีนโยบายที่สำคัญนอกเหนืองานวิจัย คือโครงการจัดสร้างอนุสรณ์สถานและอนุรักษ์ผลงานของหม่อมเจ้าสิทธิพรเพื่อระลึกถึงผลงานและกิจกรรมของพระองค์ท่านที่เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศไทย ตำหนักจำลองที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ใช้วัสดุที่คงทนขึ้น
แทรกเตอร์โบราณ พระรูปภายในตำหนัก การจัดแสดงภายในตำหนัก นิทรรศการภายในตำหนัก เอกสารทางจดหมายเหตุต่างๆ ภาพที่ ๑๙ มจ สิทธิพร ทรงถ่ายภาพกับ ศ. หลวงอิงคศรีกสิการ และพระช่วงเกษตรศิลปการ คราวได้รับพระราชปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แปลงวิจัยปาล์มน้ำมัน ชายหาดบางเบิด ณ วันนี้ ฟาร์มบางเบิด...กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีชื่อว่า สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร สังกัดสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากรแห่งนี้ |